วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Blended Learning

   Blended Learning   


         การเรียนรู้แบบผสมผสานหรือ Blended Learning เป็นรูปแบบการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่นามาใช้ในการเรียนรู้รวมทั้งการฝึกอบรมในยุคแห่งสังคมสารสนเทศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในลักษณะเผชิญหน้า ( Face-to-face ) และการเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer- Mediated ) ในการสร้างองค์ความรู้ได้อย่างหลากหลาย การนาเอารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานมาใช้นั้นต้องคานึงถึงปัจจัยต่างๆให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียนให้เกิดขึ้น ปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ ได้ถูกนามาใช้กันในการจัดการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษากันมาก มีการศึกษาวิจัยหลายชิ้นงานที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการใช้สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Blended Learning ดังกล่าวนี้ ซึ่งคงต้องเป็นบทบาทสาคัญของทุกฝ่ายที่คงต้องให้ความสนใจและสร้างความมั่นใจต่อการปรับใช้รูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวนี้ให้เกิดขึ้นโดยการสร้างความพร้อมในองค์ประกอบทุกๆด้านทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และกระบวนการสร้างระบบที่จะต้องดาเนินการต่อเนื่องและมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน


         คุณลักษณะของกำรเรียนรู้แบบผสมผสำน ( Types and Models )
การเรียนแบบผสมผสาน ( Blended Learning ) ตามมโนทัศน์ ( Concepts ) ที่กาหนดนั้นจะเป็นลักษณะของการผสมผสานการเรียนรู้ใน 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ ( Oliver and Trigwell , 2005 )
1. การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนจากการเรียนผ่านเว็บ ( Web-Based Instruction ) ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
2. การผสมผสานในรูปแบบหรือวิธีการที่เน้นเชิงวิชาการในการสร้างผลผลิตทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้นโดยปราศจากเทคโนโลยีเพื่อการสอนอื่นๆเข้ามาช่วย
3. การผสมผสานรูปแบบวิธีการทางเทคโนโลยีทางการสอนผ่านหลักสูตรเฉพาะและ/หรือการฝึกอบรม
4. การผสมผสานเทคโนโลยีการสอนเข้ากับงานปกติ หรือการเรียนตามปกติที่กระทาอยู่
ในขณะเดียวกันกับที่ Horn and Staker ( 2011 ) ได้จาแนกถึงคุณลักษณะในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานหรือ Bended Learning สาหรับผู้เรียนในระดับ K-12 ไว้ว่าการการสอนรูปแบบดังกล่าวสามารถจาแนกออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
         Model 1 : Face to Face Driver เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติที่มีการเรียนแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในชั้นเรียนโดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ในแต่ละเรื่องหรือแต่ละประเด็นที่กาหนดในหลักสูตรของการเรียนรู้แต่ละครั้ง
        Model 2 : Rotation เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบหมุนเวียนตามหลักสูตรเนื้อหาในตารางที่กาหนดของการสอนปกติในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์ที่มีความหลากหลายและเป็นไปตามอัตราการเรียนของแต่ละบุคคลเป็นสาคัญ
         Model 3 : Flex เป็นลักษณะการเรียนแบบผสมผสานที่มีความยืดหยุ่นในการปรับใช้ภายใต้สถานการณ์ที่ต่างกันที่ครูสามารถจัดให้กับผู้เรียนในการเรียนรู้หลายรูปแบบทั้งการเรียนแบบ tutoring หรือการเรียนแบบกลุ่มเล็กตามกลุ่มสนใจ เป็นต้น
          Model 4 : Online Lab เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการเรียนในห้องเรียนออนไลน์ภายใต้สภาพการณ์ของการใช้ห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเต็มรูปแบบโดยครูและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้คอยควบคุมให้ความช่วยเหลือทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
          Model 5 : Self Blended เป็นรูปแบบของการเรียนแบบผสมผสานด้วยตัวของผู้เรียนเองตามประเด็นหรือหลักสูตรกาหนด ลักษณะดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลทางการเรียนระหว่างกันหรือระหว่างสถาบัน ลักษณะดังกล่าวนี้จะมีโปรแกรมควบคุมหลักอยู่ที่ห้องปฏิบัติการตาม Model 4 ที่จะคอยควบคุมและอานวยความสะดวกในการเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยตนเอง
          Model 6 : Online Driver เป็นลักษณะการเรียนแบบผสมผสานที่เต็มรูปแบบโดยมีการเรียนแบบออนไลน์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจากหลักสูตรที่กาหนด เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศจะมีบทบาทค่อนข้างสูงต่อกระบวนการขับเคลื่อนในรูปแบบนี้


        องค์ประกอบของกำรเรียนแบบผสมผสำน ( 5 Keys Ingredients )
ภายใต้สถานการณ์ของการเรียนแบบผสมผสานนั้น จะประกอบไปด้วยสิ่งบ่งชี้สาคัญ 5 ประการต่อไปนี้ที่บ่งบอกถึงสภาพการณ์ของการเรียนแบบ Blended Learning ได้แก่ ( Carman , 2005 )
1. เหตุกำรณ์หรือปรำกฏกำรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน ( Live Events ) เป็นลักษณะของการเรียนรู้ที่เรียกว่า “การเรียนแบบประสานเวลา ( Synchronous )” จากเหตุการณ์จริงหรือสถานการณ์จาลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเหตุการณ์ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนเสมือน ( Virtual Classroom )” เป็นต้น
2. กำรเรียนเนื้อหำแบบออนไลน์ ( Online Content ) เป็นลักษณะการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามสภาพความพร้อมหรืออัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน ( Self-paced Learning ) รูปแบบการเรียนเช่นการเรียนแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ( Interactive ) การเรียนจากการสืบค้น( Internet-Based ) หรือการฝึกอบรมจากสื่อ CD-ROM เป็นต้น
3. กำรมีส่วนร่วมในกำรเรียนรู้ ( Collaboration ) เป็นสภาพการณ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารข้อมูลร่วมกันกับผู้อื่นจากระบบสื่อออนไลน์ เช่น e-Mail , Chat , Blogs เป็นต้น
4. กำรวัดและประเมินผล ( Assessment ) การเรียนลักษณะดังกล่าวต้องมีการประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระยะนับตั้งแต่การประเมินผลก่อนเรียน ( Pre-assessment ) การประเมินผลระหว่างเรียน ( self-paced evaluation ) และการประเมินผลหลังเรียน ( Post-assessment ) เพื่อนาไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้นต่อไป
5. วัสดุประกอบกำรอ้ำงอิง ( Reference Materials ) การเรียนหรือการสร้างงานในการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นต้องมีการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อเพิ่มคุณภาพทางการเรียนให้สูงขึ้น 


       ประโยชน์ของ Blended Learning
1. สามารถแบ่งเวลาเรียนได้อย่างมีอิสระในการเรียนรู้เนื้อหา
2. เลือกสถานที่เรียนได้อย่างมีอิสระทั้งในชั้นเรียนปกติหรือนอกชั้นเรียน
3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับและอัตราการเรียนรู้ ( Self-paced )
4. ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้อย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. เป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเดิมกับรูปแบบการเรียนเชิงอนาคต
6. เป็นการเรียนรู้ที่เน้นด้วยสื่อผสม ( Multimedia )หลากหลายรูปแบบ
7. เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( Learner Center )
8. ผู้เรียนมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลได้อย่างอิสระ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้ดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยา การถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียน และทราบผลการปฏิบัติได้รวดเร็ว
10. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้ดี
11. สามารถสร้างแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ทาให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียนรู้ได้หลากหลาย สามารถเข้าถึงผู้สอนหรือแหล่งข้อมูลได้ดี
15. เป็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสาหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตนเอง
16. รูปแบบการเรียนสามารถนาไปใช้ในการฝึกอบรมในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ และช่วยลดต้นทุนในการฝึกอบรมสัมมนาได้


        ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน

การเรียนเผชิญหน้ า ( Face-to-face)  
- การบรรยายและการนำเสนอ
- การสาธิต
- การทบทวน
- การลงมือปฏิบัติ
- การสัมนา
- การแสดงบทบาทสมมติ
- การจำลองสถานการณ์
- การทำโครงงาน
- การเยี่ยมชมสถานที่

ออฟไลน์แบบเรียนด้วยตนเอง (Offline: Individual Work) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยใช้สิ่งต่างๆ  
- หนังสือ
- นิตยาสาร
- หนังสือพิมพ์
- วารสาร
- ดีวีดี
- โทรทัศน์
- วิทยุ
- บันทึกเสียง
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

ออนไลน์ (Online)
- อีเมลล์ห้องสนทนา
- เว็บบอร์ด
- การประชุมด้วยวีดิโอ
- การใช้เว็บไซด์ในการสือค้นข้อมูล
- การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook, twitter
- การเรียนผ่านสื่อเคลื่อน

   


         หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ Blended learning
 เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม




ที่มา http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/images/stories/content/blended_learning.jpg
http://dl10.glitter-graphics.net/pub/619/619380a8c7yo5al4.gif
www.inded.kmitl.ac.th/journal/images/stories/year11.../vol11_01_a4.pdf
http://vantage-siam.com/fckupload/upload/image/Picaro%20Low%20Res/Picaro%20Components.jpg
http://2.bp.blogspot.com/-dswrIln42Uo/Ubx6SFCAW1I/AAAAAAAAASQ/G3cyUJtfA9I/s1600/images.jpg
http://dl8.glitter-graphics.net/pub/1172/1172068lz3epuj8s5.gif

2 ความคิดเห็น: