วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Game Online

Game Online



          เกมส์ออนไลน์ (Online Game) คือ วิดีโอเกมที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต เกมส์ออนไลน์มีส่วนที่คล้ายคลึงกับเกมส์หลายผู้เล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Multiplayer) เกมส์ออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมส์แบบ MMO (Massive Multiplayer Online) หรือก็คือเกมส์หลายผู้เล่นที่รับจำนวนผู้เล่นได้มหาศาลในพื้นที่ๆหนึ่ง (ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป)



          เกมส์ออนไลน์ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก

ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมส์ไปด้วยกันมากกว่าการเล่นเกมส์คนเดียว
เกมส์ออนไลน์หลายเกมที่มีกราฟิกที่สวยงามมาก จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนหันมาเล่นเกมส์ออนไลน์
เกมส์ออนไลน์มีกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งมีการเพิ่มแผนที่ในเกม อาวุธ ชุด มอนสเตอร์ใหม่ๆ และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง



         ข้อดี 
  • ได้เพื่อน เพียงคุณคิดจะซื้อเครื่องเกมสักเครื่อง คุณก็เริ่มมีเพื่อนแล้วเพราะคุณต้องมาหาข้อมูล พอเริ่มเล่นก้มีเพื่อน 
  • ฝึกสายตาและการสังเกตุ  คนเล่นเกม ส่วนใหญ่จะมีการมองเห็นและการณ์สังเกตุที่ดีกว่าคนไม่เล่นเกม 
  • ได้ภาษาต่างชาติ 
  • ผ่อนคลาย บางคนทำงานมาทั้งวัน หากไม่ได้เกมเป็นเครื่องผ่อนคลายพลังใจเขาย่อมหมดแน่ เพราะ กิจกรรมผ่อนคลายบางอย่างมันต้องใช้เงินและสถานที่แต่เกมนั้นสามารถผ่อนคลายได้
  • ฝึกสอมง เกมบางเกมต้องใช้ความคิดมากกว่าเรียนเลขเสียอีก
  • เติมจิตนาการและความฝัน 
  • ออกกำลังกาย 
  • กระชับความสัมพันธ์ในคราบครัว 
  • ได้เทคโนโลยี่ เครื่องเกมเดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยี่ที่ล้ำหน้ากว่า โทรศัพยท์ราคาแพงๆ อยู่มาก 
         ข้อเสีย 
  • เสียเวลาทำอย่างอื่น 
  • เปลืองไฟ
  • เป็นแพะให้นักข่าว
  • เป็นแหล่งหาเงินที่ผิด (ขายเงินm ตัวละคร)
  • จะแย่มากหากคนเล่นไม่มีสอมงแยกแยะอะไรควรอะไรไม่ควร มาเล่น
  • เล่นมากไปร่างกายเสือมโทรม 



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki
http://game.mthai.com/wp-content/uploads/2012/12/online-game-2012.jpg

Edutainment

  Edutainment



          การเรียนรู้แบบศึกษาบันเทิง หรือ Edutainment (Education + Entertainment) เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน คือ สื่อมัลติมีเดีย การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน และกิจกรรมที่หลากหลายชนิด มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสุขสนุกสนานในการเล่นปนเรียน (Play & Learn) เปลี่ยนบรรยากาศหรือรูปแบบเดิมๆ ที่เคยเรียน ตามแนวคิดที่ว่าสิ่งบันเทิงสามารถสร้างความสนใจได้มากกว่าการเรียนตามปกติ โดยที่อาจารย์จะเป็นเพียงผู้คอยอำนวยความสะดวกให้เท่านั้น มีการวางแผนล่วงหน้าเป็นการเฉพาะด้วยการจัดกิจกรรม (Activity) ให้นักศึกษาทำ เมื่อนักศึกษากระทำกิจกรรมใดแล้วเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน นักศึกษาย่อมอยากทำกิจกรรมนั้นๆ ซ้ำอีกแน่นอน ผู้สอนจะต้องพิจารณาบทเรียนต่างๆ ที่มีทั้งในและนอกหลักสูตร พยายามให้บทเรียนแต่ละเนื้อหามีความเคลื่อนไหวด้วยกิจกรรม และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นต่อไปด้วยการมอบหมายงานให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อมัลติมีเดียที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า เป็นสื่อที่ใช้ง่าย เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของผู้สอนที่จะมอบหมายงานและกระตุ้นให้นักศึกษา เสาะแสวงหาด้วยตนเอง หรือช่วยกันค้นหา และนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ ซึ่ง “วิธีการ” ดังกล่าวนี้แหละคือหัวใจของการเรียนรู้แบบศึกษาบันเทิง 



           วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Edutainment มีหลายวิธีเช่น การเล่นเกม การแข่งขันทายปัญหา มีการใช้สื่อที่เร้าใจทั้งภาพและเสียง โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดเกมหรือจัดกิจกรรมโดยให้สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน จะช่วยในการจดจำได้เป็นอย่างดี สภาพแวดล้อมบริเวณภายนอกศูนย์การเรียน มีสภาพธรรมชาติ มีสวนหย่อม ร่มไม้ ที่นั่งเล่น เป็นต้น บริเวณภายในศูนย์การเรียนมีการจัดมุมประสบการณ์ไว้ครบทุกมุม โดยให้นักศึกษาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ จัดบรรยากาศของห้องเรียนให้มีชีวิตชีวาด้วยโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ที่ทันสมัย ไม่ซ้ำซากจำเจ เตรียมสื่อให้เลือกเรียนตามความสนใจ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี เกม อินเตอร์เน็ต และรายการโทรทัศน์ เป็นต้น จะสามารถช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเองในบรรยากาศที่สนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความคิดเชิงบวก สนใจที่จะเข้าชั้นเรียนมากขึ้น  ซึ่งจะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในที่สุด




ที่มา http://image.ohozaa.com/show.php?id=feef980ab93326ee0c120912b8280c84
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjVw-Bu6K2hNkAiUA5jEau6uHF0wtt36XytUc3MKEuXB8-NC7KWoA0oF5t-y9bF4jMx4eavwAYqBVem6kERo-m4E8Rb4qhT3R3Gys6WKXDjAlyqaLyCTUXfP94LvxsoneZ5UkUNywyo4uG3/s1600/img4blog4.jpg

E-Learning / Learning Management System /


 E-Learning 


          e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 


       
          ประโยชน์ของ e-Learning 
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียนการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
  • เข้าถึงได้ง่ายผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่ายเนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

Learning Management System


           LMS ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้  เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

          ข้อดีของ LMS
ระบบจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงแรกที่ได้มีการพัฒนาระบบฯ ขึ้น จากเว็บไซต์ edutools ที่เป็นเว็บไซต์ที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลและรายงานการเปรียบเทียบระบบฯ ต่างๆ ที่ได้มีการใช้งานกันอยู่จริง พบว่า รายการของเครื่องมือบนระบบการจัดการการเรียนการสอนที่ใช้ในการประเมินมีอยู่มากกว่า 30 รายการด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เครื่องมือสำหรับการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน เช่น ปฏิทิน (calendar) ไปจนถึงเครื่องมือขั้นสูงที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนให้มากขึ้น เช่น เครื่องมือรวบรวมชิ้นงานผู้เรียน (student portfolios) เป็นต้น การพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่ได้จำกัดเฉพาะปริมาณของเครื่องมือ แต่ยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภทด้วย ตัวอย่างเช่น เครื่องมือในลักษณะเว็บบอร์ด หรือ กระดานเสวนา (อาจเรียกว่า Discussion Forums) ซึ่ง ในขณะนี้เครื่องมือดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ความสามารถในการอนุญาตผู้ใช้ในการจัดเรียงและแสดงข้อความที่ได้นำเสนอเท่านั้น หากแต่ยังสามารถคอยอัพเดตข้อมูลการโพสต์ลงบนกระดานเสวนา และส่งอีเมลล์แจ้งให้ทราบไปยังผู้รับเมื่อมีข้อความใหม่ๆ ได้รับการโพสต์ เป็นต้น ระบบการจัดการการเรียนการสอนส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อของระบบฯ กับระบบอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบ SAP ระบบ KMS เป็นต้น มีระบบการจัดการการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงหลังมากขึ้นที่ เป็น Open Source ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดระบบฯ มาพัฒนา หรือปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับระบบในลักษณะเชิงพาณิชย์ (proprietary) ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมักจะคิดค่าใช้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (license) เท่ากับจำนวนของผู้ใช้ 

          ข้อเสียของ LMS
ข้อจำกัดสำคัญที่ผู้ใช้งานระบบฯ ส่วนใหญ่พบ ได้แก่ การที่เครื่องมือของระบบฯ ไม่ได้มีฐานพัฒนาจากทฤษฎีการเรียนรู้ กล่าวคือ เครื่องมือต่างๆ อันหลากหลายที่ได้รับการพัฒนามาแล้วนั้น ยังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์ (pedagogy-driven) ได้อย่างเต็มที่หรืออีกนัยหนึ่ง หลักทางด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับความต้องการในการออกแบบการเรียนของผู้สอนในสมัยใหม่ ซึ่งเน้นการเรียนในลักษณะที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ตามความสามารถของตนตามกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ก่อนแล้ว (pre-designed learning sequences) เป็นต้น จึงทำให้การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นมักอยู่ในลักษณะซ้ำๆ เดิม และส่งผลต่อความน่าเบื่อของการเรียนในลักษณะ e-Learning


M-Learning


          m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ  PDA และ laptop computer

          ในปัจจุบันวิธีการศึกษาแบบ m-Learning นั้นยังไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงเห็นเพียงแต่การวิจัยของสถาบันการศึกษา และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ERICSSON และ NKI Distance Education หรือ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนแบบทางไกลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเรื่อง m-learning ว่ารูปแบบวิธีการเรียนจะเป็นอย่างไรโดยผ่านอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ  นอกจากนี้บริษัท ERICSSON ได้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เรื่อง d-learning , e-learning จนกระทั่ง m-learning ในขั้นต้นบริษัท ERICSSON ได้ลองทดสอบการเรียนรู้แบบ m-learning กับโทรศัพท์มือถือรุ่น R320, R380 และ R520 โดยเครื่องรุ่น R380 หน้าจอเป็นแบบแนวนอน นอกนั้นเป็นแนวตั้ง และจากการศึกษาก็พบว่าโทรศัพท์รุ่น R380 สามารถแสดงผลได้ดีกว่าอีกสองรุ่น เพราะหน้าจอที่เป็นแนวนอนจะสามารถแสดงผลข้อมูลตัวอักษรและข้อมูลรูปภาพได้ดีและมากกว่าหน้าจอที่เป็นแนวตั้ง


ข้อดี
  •  มีความเป็นส่วนตัวสูง 
  • สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและสถานที่ เพราะใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย

ข้อจำกัด
  • อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอที่เล็ก หน่วยความจำที่มีจำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดาวน์โหลด ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลรูปภาพ และเสียง ที่ต้องใช้หน่วยความจำมาก 
  • ค่าใช้จ่ายสูง เพราะ 
  •  การ ออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์ไร้สายจำพวกโทรศัพท์มือถือและ PDA มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการเล่น อินเทอร์เน็ต บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC หลายเท่า
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อ (input / output ต่างๆ ) ก็ต้องเป็นอุปกรณ์เฉพาะของรุ่นใดรุ่นหนึ่งเท่านั้น ทำให้สิ้นเปลือง



ที่มา http://www.thaiedunet.com/ten_content/benefit.html
http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/330/467/large_e-Learning.gif?1298690521
http://www.l3nr.org/posts/433205
http://blog.prachyanun.com/view.php?article_id=122

สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์


          Wikipedia  คือ  สารานุกรม ซึงมีหลายภาษา สามารถเข้าไปอ่านได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ มีเดียวิก ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 250 ภาษา สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไขรวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม ดังนั้นข้อมูลใน Wikipedia จึงค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือสูง 
และการที่ Wikipedia เป็นเสรีสารานุกรม ที่ทุกคนสามารถเข้ารไปแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้นี้เอง จึงทำให้มีผู้ประสงค์ร้ายใส่ข้อมูลเข้าไปผิดๆ แม้ส่วนใหญ่บุคคลเหล่านั้นจะถูกจับได้แล้ว แต่ท่านทั้งหลายก็ควรระวัง และอ่านข้อมูลจาก Wikipedia อย่างมีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่อข้อมูลที่ผิดจากบุคคลเหล่านั้น
ปัจจุบันมีหลาย ๆ เว็บที่นำ wiki มาเป็น Engine นำ Content ขึ้นแสดงแทนที่จะใช้โปรแกรม CMS เพราะลูกเล่นในการเชื่อมโยงเนื้อหา ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ดีกว่า CMS ทั่ว ๆ ไป และการใช้งานยังง่าย (ถ้าเข้าใจวิธีใช้แล้ว) เพราะเจ้าของเว็บสามารถแก้ไขข้อมูลจากหน้าเว็บได้เลย


ข้อดี
1.เนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้
2.เปิดเสรีที่ให้ทุกคนเขียน แก้ไขข้อมูล โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
3.เผยแพร่สืบต่อกันได้อย่างเสรี
4.นโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม


ข้อเสีย
1.การนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่-วิกิพีเดียมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
2.ไม่สามารถป้องกันผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ
3.ไม่มีระบบตรวจสอบความถูกต้อง



ที่มา http://www.mindphp.com
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1494035

webboard / Internet forum

 Webboard


          เว็บบอร์ด (web board, webboard) คือลักษณะของเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนบทสนทนา การพูดคุย การอภิปรายในสังคมออนไลน์ นอกจากชื่อเว็บบอร์ดแล้ว ยังมีเรียกกันหลายชื่อไม่ว่า กระดานข่าว กระดานข่าวสาร กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ กระดานสนทนา กระดานสนทนาออนไลน์ ฟอรัม เว็บฟอรัม เมสเซจบอร์ด บุลลิทินบอร์ด ดิสคัชชันบอร์ด ฯลฯ หรือเรียกอย่างสั้นว่า บอร์ด ก็มี


          ข้อดีของเว็บบอร์ด (web board, webboard)
  • เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
  • ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้ใช้งาน

          การใช้งานเว็บบอร์ด (web board, webboard)

ผู้ใช้งาน เราสามารถจำแนกผู้เข้าใช้งานกระดานข่าวสารได้เป็น 4 ส่วนตามลักษณะสิทธิของการเข้าถึง คือ
  • ผู้ดูแลระบบสูงสุด - ผู้ที่มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าทุกคนและมีสิทธิพิเศษที่ผู้อื่นไม่มี คือ การลบผู้ใช้งานที่อยู่ระดับต่ำกว่าตนเอง เป็นต้น
  • ผู้ดูแลระบบทั่วไป - ผู้ที่เข้าไปจัดการกับกระทู้ต่างๆให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การย้ายกระทู้ไปในหมวดที่ถูกต้อง ลบกระทู้เก่าๆ เป็นต้น
  • ผู้ใช้ที่เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน - ผู้ใช้งานที่มีสิทธิบางอย่างเหนือกว่ามากกว่าผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ได้แก่ การแก้ไขคำตอบกระทู้ และการลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น
  • ผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม - ผู้ที่ไม่ได้เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน จะไม่ได้รับสิทธิบางประการ เช่น การแก้ไขตอบกระทู้ ลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น
ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเว็บบอร์ดสามารถมีเว็บบอร์ดของตัวเองได้หลายวิธีไม่ว่า เขียนโปรแกรมสร้างเว็บบอร์ดของตัวเอง ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว หรือขอบริการติดตั้งเว็บบอร์ดส่วนตัวผ่านผู้ให้บริการ



Internet forum

           Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง(virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม

           Internet forums มีหลายชื่อเรียก เช่น web forums, message boards, discussion boards, discussion forums, discussion groups, bulletin boards



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.niceapp.nu.ac.th/WEBBOARD%20NEW.jpg
http://www.gotoknow.org/posts/289678
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhsXlPsWttSL0_b2E7z8TqJFdaK0PNAKmsBMA79FB17gePorrEkJfH2Xtpmb-EWh1XAly8Ibsr27c7azDUuV05rR2Xh4GASsPipYbfLktzAnV_IZMwHpeKyhfoPfcBOBBqNxzIgWrodCUZ4/s1600/eeet.jpg